วิธีการเรียกสกรู ขั้นพื้นฐาน บทที่ 1 - รูปร่างของสกรู
อัพเดทล่าสุด: 21 มี.ค. 2024
1300 ผู้เข้าชม
"สกรู" หรือที่หลายคนนิยมเรียกกันว่า "น็อตตัวผู้" นั้น มีวิธีเรียกเพื่อให้ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าใจได้ตรงกันดังนี้
การเรียกตามประเภทตามรูปร่างของหัว
- หัวหกเหลี่ยม (นิยมเรียกสั้นๆ ว่า หัวเหลี่ยม) (Hex Head)
- หัวหกเหลี่ยมติดแหวน (นิยมเรียกสั้นๆ ว่า หัวเหลี่ยมติดจาน) (Hex Head Flange)
- หัวจม (Cap Screw)
- หัวเตเปอร์ (Countersunk) หรือ หัว F (Flat Head)
- หัว P (Pan Head)
- หัว T (Truss Head)
- หัว O (Oval Head)
- หัวกลม (Round Head)
- หัวกระดุม (Button Head)
- หัว 12 แฉก (Twelve Points)
- หางปลา (Wing)
- ห่วง (Eye)
การเรียกตามประเภทตามรอยบากหรือจมของหัว
- หัวจมหกเหลี่ยม (Hex Socket)
- หัวแฉก (Phillips)
- หัวผ่า (Slot)
- หัวคอมบี้ (Combination)
- หัวทอล์ค (Torx)
การเรียกตามลักษณะส่วนปลายของสกรู
- ทั่วไป (Machine Screw)
- เกลียวปล่อย (Tapping Screw)
- ปลายสว่าน (Self Drilling Screw)
การเรียกตามความยาวของเกลียว
- เกลียวตลอด (Full Thread)
- เกลียวครึ่ง (หมายรวมถึง เกลียวไม่ตลอด) (Half Thread)
เพราะฉะนั้นการที่เราจะเรียกสกรูตัวหนึ่งเราต้องนำลักษณะทั้งหมดมาผสมกัน จึงจะได้สกรูที่รูปร่างชัดเจนไม่ผิดจากที่ต้องการ (การระบุความยาวเกลียวนั้น สามารถละไว้ในฐานที่เข้าใจได้หากสกรูตัวนั้นสั้นมากๆ (เป็นเกลียวตลอดเสมอ) หรือยาวมากๆ (เป็นเกลียวครึ่งเสมอ))
ตัวอย่าง
- สกรูหัวหกเหลี่ยมเกลียวครึ่ง (Hex Head Bolt Half Thread)
- สกรูหัวจมเกลียวครึ่ง (Hex Socket Cap Screw Full Thread)
- สกรูเกลียวปล่อยหัว P แฉก (Phillips Pan Head Tapping Screw)
- สกรูหัวเตเปอร์จม (Hex Socket Countersunk Screw)
- สกรูหัวหกเหลี่ยมติดแหวนปลายสว่าน (Hex Head Self Drilling Screw) (สามารถเรียกสั่นๆ ว่า สกรูปลายสว่านได้ เนื่องจากมีรูปร่างเดียวที่เป็นที่นิยม)
หลักการง่ายๆ ก็คือ อธิบายรายละเอียดของสิ่งที่เราต้องการให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อความไม่ผิดพลาดในการหาของนะครับ
สนับสนุนโดย: L.S.T. Group - ผู้ค้าปลีกและส่ง สกรูน็อตและสินค้าสลักภัณฑ์ทุกชนิด
บทความที่เกี่ยวข้อง
สกรูเจาะตัวเองเป็นอุปกรณียึดที่สำคัญในอุตสาหกรรมก่อสร้าง การผลิต และอุตสาหกรรมต่างๆ คู่มือนี้จะนำเสนอการวิเคราะห์เชิงลึกของหัวสกรูที่มีความนิยมในประเทศไทยสูงสุด 3 ประเภท:
3 ธ.ค. 2024
ในวงการอุตสาหกรรมและงานก่อสร้าง หัวน็อตถือเป็นอุปกรณ์ยึดติดที่มีความสำคัญอย่างมาก แต่หลายคนอาจสงสัยว่าระหว่าง "หัวน็อตดำชุบขาว" กับ "หัวน็อตมิลขาว" นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร เพราะดูภายนอกก็เหมือนๆ กัน วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกัน
20 พ.ย. 2024
เปรียบเทียบสกรูแข็ง เกรด 8.8, 10.9 และ 12.9 เราขออธิบายความแตกต่างตามหลักวิศวกรรม ของสกรูแข็ง เกรด 8.8, 10.9 และ 12.9 พร้อมตารางเปรียบเทียบค่าความแข็ง (Hardness) และ แรงดึง (Tensile) ดังนี้
4 ก.ย. 2024