แชร์

ความแตกต่างของสกรูเกรด 8.8, 10.9 และ 12.9

อัพเดทล่าสุด: 4 ก.ย. 2024
8331 ผู้เข้าชม

เปรียบเทียบสกรูแข็ง เกรด 8.8, 10.9 และ 12.9 เราขออธิบายความแตกต่างตามหลักวิศวกรรม ของสกรูแข็ง เกรด 8.8, 10.9 และ 12.9 พร้อมตารางเปรียบเทียบค่าความแข็ง (Hardness) และ แรงดึง (Tensile) ดังนี้



ความหมายของตัวเลข
ตัวเลขตัวแรก (8, 10, 12) หมายถึง Class ของความแข็งแรงของสกรู โดยสามารถนำไปคำนวนเป็นค่าแรงดึงสูงสุดด้วยการ X 100 เช่น Class 8 = การรับแรงดึงสูงสุดที่ 800 N/mm2
ตัวเลขตัวที่สอง (8, 9, 9) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างเพื่อคำนวนค่าแรงดึง Yield ของสกรูตัวนั้นๆ

วิธีการคำนวน จึงเป็นดังนี้
สกรูเกรด 8.8 หมายถึง สกรูสามารถรับแรงดึง Yield ได้ที่  640 N/mm2

สกรูเกรด 10.9 หมายถึง สกรูสามารถรับแรงดึง Yield ได้ที่  900 N/mm2

สกรูเกรด 12.9 หมายถึง สกรูสามารถรับแรงดึง Yield ได้ที่  1080 N/mm2


ข้อดีของสกรูแต่ละเกรด
เกรด 8.8: ราคาถูก หาซื้อง่าย เหมาะกับงานทั่วไป
เกรด 10.9: แข็งแรงกว่า เกรด 8.8 เหมาะกับงานที่ต้องการความแข็งแรงปานกลาง
เกรด 12.9: แข็งแรงที่สุด ทนทานต่อแรงดึง แรงบิด และ แรงกระแทก เหมาะกับงานที่ต้องรับแรงหนัก

ข้อเสียของสกรูแต่ละเกรด
เกรด 8.8: ไม่ทนทานต่อแรงดึง แรงบิด และ แรงกระแทก
เกรด 10.9: ราคาแพงกว่า เกรด 8.8, สิ้นเปลืองลูกรีด หรือ ต๊าปเกลียว ในกรณีที่ต้องมีการแก้ไขเกลียว
เกรด 12.9: ราคาแพงที่สุด, สิ้นเปลืองลูกรีด หรือ ต๊าปเกลียว ในกรณีที่ต้องมีการแก้ไขเกลียว (โรงผลิตส่วนมากจะไม่รับแก้ไข)

สรุป
สกรูแข็งแต่ละเกรด เหมาะกับงานที่แตกต่างกัน

เกรด 8.8: เหมาะกับงานทั่วไป เช่น งานไม้ งานเฟอร์นิเจอร์ หรือ งานเครื่องจักรส่วนที่ไม่ต้องรับแรงมาก
เกรด 10.9: เหมาะกับงานที่ต้องการความแข็งแรงปานกลาง เช่น งานเครื่องจักร
เกรด 12.9: เหมาะกับงานหนัก, จุดใช้งานที่มีความสุ่มเสี่ยง, ส่วนงานที่มีความยากลำบากในการซ่อมบำรุง เช่น งานก่อสร้าง งานยานยนต์

คำแนะนำ
- เลือกเกรดสกรูให้เหมาะสมกับงาน (คำนวนน้ำหนัก และ การรับแรงแนวเฉือน)
- พิจารณาปัจจัยอื่นๆ เช่น สภาพแวดล้อม การสึกหรอ
- ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหากไม่แน่ใจ

 

สั่งซื้อสกรูคุณภาพจากเรา คลิ๊กเลย

 

สนับสนุนบทความโดย L.S.T. Group - ทุกคำตอบของสกรูน็อตคุณภาพ


บทความที่เกี่ยวข้อง
เลือกสกรูปลายสว่าน สกรูเมทัลชีท สกรูยิงแป Selection of Self drilling screw
สกรูเจาะตัวเองเป็นอุปกรณียึดที่สำคัญในอุตสาหกรรมก่อสร้าง การผลิต และอุตสาหกรรมต่างๆ คู่มือนี้จะนำเสนอการวิเคราะห์เชิงลึกของหัวสกรูที่มีความนิยมในประเทศไทยสูงสุด 3 ประเภท:
3 ธ.ค. 2024
ความแตกต่างของหัวน็อตมิลดำชุบขาว กับ หัวน็อตมิลขาว
ในวงการอุตสาหกรรมและงานก่อสร้าง หัวน็อตถือเป็นอุปกรณ์ยึดติดที่มีความสำคัญอย่างมาก แต่หลายคนอาจสงสัยว่าระหว่าง "หัวน็อตดำชุบขาว" กับ "หัวน็อตมิลขาว" นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร เพราะดูภายนอกก็เหมือนๆ กัน วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกัน
20 พ.ย. 2024
สกรู 10.9 คุ้มค่าอย่างไร The cost performance
วันนี้เรามาพูดคุยกันเรื่องสกรู หรือที่หลายคนเรียกว่า "น็อต" กันดีกว่า แต่ไม่ใช่น็อตธรรมดานะครับ เราจะมาทำความรู้จักกับสกรูเกรด 10.9 ซึ่งถือเป็น "ซูเปอร์สตาร์" ในวงการวิศวกรรมเครื่องกลและการซ่อมรถยนต์เลยทีเดียว
5 ส.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy